top of page

​                  การปฏิรูปการศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21 ของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี





















 

           เพื่อความเป็นผู้นำ ในยุคสารสนเทศและโลกาภิวัตน์ดูเหมือนว่าการปฏิรูปการศึกษาจะกลายเป็นเรื่องยอดนิยมไปในทั่วทุกมุมโลกเลยทีเดียว แม้ว่าเหตุผลสำ หรับการลุกขึ้นมาปฏิรูปการศึกษาอาจจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ทว่าทุกประเทศก็ดูจะเห็นพ้องต้องกันว่า การปฏิรูปการศึกษานับเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำ คัญและมีประสิทธิภาพที่สุดในการเตรียมรับมือกับศตวรรษที่ 21 เหตุผลของการปฏิรูปการ

ศึกษาในเกาหลีก็สืบเนื่องมาจากประเด็นนี้เช่นกัน อย่างไรก็ดีหากมองในบริบทสากลจะเห็นว่าการปฏิรูปในเกาหลีนั้นแสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงจารีตประเพณีทางวัฒนธรรมและการศึกษาของตนเอง ดังนั้นความคิดรวบยอดในโครงการปฏิรูปการศึกษา หลาย ๆ แนวซึ่งดูว่าเหมือนกับของประเทศอื่น ๆ ย่อมจะส่งผลในลักษณะที่แตกต่างออกไปในบริบทของประเทศเกาหลี
               เกาหลีมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาในเรื่องการศึกษา ยาวนาน ลัทธิขงจื้อในสถานะของสถาบันการศึกษา สังคม และวัฒนธรรม มีอิทธิพลอย่างมากในการหล่อหลอมกล่อมเกลาทางวัฒนธรรมแก่ประชากรเกาหลี  นับตั้งแต่อรุณรุ่งแห่งประวัติศาสตร์ของเกาหลีในราว 100 ปีก่อน คริสตกาล  แนวทางของลัทธิขงจื้อส่งผลให้ประชาชนชาวเกาหลีให้ความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการศึกษาและให้การเคารพยกย่องผู้มีการศึกษา ค่านิยมด้านการศึกษาตามจารีตประเพณีเยี่ยงนี้นับว่าเป็นพลังผลักดันอันสำ คัญในการสร้างชาติให้ก้าวหน้าและในการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง การศึกษาในเกาหลีได้ขยายขอบข่ายไปอย่างโดดเด่น อัตราและขอบข่ายของการขยายตัวทางการศึกษาในเกาหลีก้าวไปไกลกว่าประเทศอื่น ๆ ที่มีลักษณะเงื่อนไขคล้ายคลึงกับเกาหลี ประชากรที่เป็นนักเรียนนักศึกษามีจำนวนหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งประเทศ จำนวนปีเฉลี่ยของการเข้ารับการศึกษาก็มากกว่า 12 ปีในปัจจุบัน  
เมื่อการศึกษาขยายตัวในด้านปริมาณจนถึงจุดอิ่มตัวในตอนกลางทศวรรษ 1980 รัฐก็หันมาใส่ใจการศึกษาในเชิงคุณภาพเพิ่มมากขึ้น จนกลายมาเป็นประเด็นถกเถียงที่ชุมชนการศึกษาในเกาหลีให้ความสำคัญมากที่สุด ความห่วงใยในเรื่องคุณภาพการศึกษาจุดประกายให้เกิดการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งขึ้นตรงต่อประธานาธิบดีขึ้นมาในเดือนกุมภาพันธ์ 1994 คณะกรรมาธิการฯ ได้ให้คำแนะนำแก่ประธานาธิบดีเกี่ยวกับประเด็นการศึกษาอย่างกว้างขวาง และได้นำเสนอข้อเสนอว่าด้วยการปฏิรูปในท้ายที่สุดหลังจากได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดีแล้ว ข้อเสนอแนะการปฏิรูปดังกล่าวก็ได้ถูกส่งผ่านไปยังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อนำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมต่อไป



             ขณะที่เราก้าวย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 21ซึ่งใกล้เข้ามาเต็มที  เราก็จำต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยควบคู่ไปกับความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของสังคม อารยธรรมอุตสาหกรรมในแบบที่เราใช้ดำ เนินชีวิตอยู่ในปัจจุบันสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของเราในการเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาใหม่ ๆ ในช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงจากอารยธรรมในแบบเกษตรกรรมมาเป็นอารยธรรมอุตสาหกรรม ขณะนี้เรากำ ลัง

เผชิญหน้าอยู่กับอารยธรรมใหม่ซึ่งส่งผลให้เกิดสังคมสารสนเทศขึ้นมา ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับสังคมใหมให้ดีที่สุด
              ปัจจัยอันโดดเด่นที่สุดที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็คือกระแสโลกาภิวัตน์โลก  ซึ่งครั้งหนึ่งเคยดูเหมือนกับว่า “กว้างใหญ่ไพศาลเหลือประมาณ” ได้กลายมาเป็นประชาคมโลกหรือหมู่บ้านโลกอันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าอย่างลึกลํ้าในด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้อุปสรรคในเรื่องอุดมการณ์ทางการเมือง สูญสลาย ผนวกกับการก่อตั้งองค์การการค้าโลกหรือ The World Trade Organization
(WTO) ส่งผลให้โลกใบนี้กลายเป็น “โลกที่ไร้พรหมแดนทางด้านเศรษฐกิจ” ด้วยเหตุนี้การจัดร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาและการอยู่รอดของชาติเพื่อรับมือกับปัญหาท้าทายทั้งหลายในศตวรรษหน้าจึงจำ ต้องคำ นึงถึงกระแสโลกาภิวัตน์ด้วย หากเราละเลยไม่มีการวางแผนรับมือกับปัญหาท้าทายอันเนื่องมาจากอารยธรรมใหม่และกาลสมัยใหม่ได้อย่างเหมาะสมเราก็จะถูกประเทศอื่นๆทั่วทุกมุมโลกทอดทิ้งไว้เบื้องหลังในหน้าประวัติศาสตร์โลก

กระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมกับระบบการศึกษาใหม่

               เราได้เรียนรู้หน้าประวัติศาสตร์ว่า บรรดาผู้นำของโลกล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ได้จัดวางรากฐานการศึกษาที่เหมาะสมเสียใหม่ในช่วงเวลาที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของอารยธรรม ยกตัวอย่างเช่น นโปเลียน ได้วางรากฐานการศึกษาในระบบใหม่ขึ้นโดยอาศัยระบบ The Grandes ecoles* ขณะที่เยอรมันนี  รังสรรค์ระบบเทคนิคและอาชีวศึกษาขั้นสูง หรือ Hochschule ขึ้น เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งนอกเหนือไปจากระบบมหาวิทยาลัยแบบเก่าแก่ ทั้ง 2  กรณี คือ แนวทางปฏิบัติเพื่อรับมือภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในส่วนของสหรัฐอเมริกานั้นก็ได้เริ่มจัดตั้งระบบวิทยาลัยของรัฐซึ่งประสบความสำเร็จในการมีบทบาทชี้นำ ในสังคมอุตสาหกรรมของซีกโลกตะวันตก   “เกาหลีใหม่” กับการปฏิรูปการศึกษา แต่ละประเทศทั่วโลกต่างก็พยายามประชันขันแข่งในอันที่จะเป็นผู้นำ ในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา  ทั้งนี้ทั้งนั้นหากว่าเราปรารถนาที่จะเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมใหม่ อย่างน้อยที่สุดเราก็จำ เป็นต้องดำเนินการปฏิวัติการศึกษาการรังสรรค์ “เกาหลีในรูปโฉมใหม่” ให้มีสภาพเป็นศูนย์กลางของโลกจึงต้องเริ่มที่การปฏิวัติการศึกษา ทั้งนี้เพราะแต่ไหนมาไรมาแล้วที่ผู้คนเกาหลีมองการศึกษาว่าเป็น  “พันธกิจอันศักดิ์สิทธิ์”
                เราจำเป็นต้องเริ่มที่การศึกษา เพราะการศึกษามีบทบาทสำคัญในการผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถสร้างสรรค์สารสนเทศใหม่ ๆ การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นพลวัตของอารยธรรมใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น เรายังควรตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่าการศึกษาใช่ว่าจะมีบทบาทเพียงแค่เสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ปวงชนเท่านั้น หากแต่ยังเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพชีวิตอีกด้วย

สังคมสารสนเทศกับการศึกษา ในยุคของสังคมสารสนเทศนั้น

             ข้อมูลข่าวสารจะกลายมาเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม ขีดความสามารถในด้านความคิดสร้างสรรค์ของชาติในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผนวกกับความรู้และวัฒนธรรม จึงนับเป็นตัวแปรที่สำ คัญที่สุด  ที่จะชี้ชะตากรรมของประเทศ สินทรัพย์ทางปัญญาที่กว้างไกลและลุ่มลึก  ซึ่งรวมเทคโนโลยีสารสนเทศ ความรู้และวัฒนธรรม  จึงเป็นปัจจัยกำหนดอำนาจความมั่นคั่งและมาตรฐานการดำเนินชีวิตของประชากรในชาตินั้น ๆ  คลังแห่งสินทรัพย์ทางปัญญาของชาติยึดโยงอยู่กับขีดความสามารถในการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ของพลเมือง การศึกษามีบทบาทสำคัญที่สุดในการพัฒนาพลังทางภูมิปัญญาของชาติให้ก้าวไกล ฉะนั้นหนทางที่ดีที่สุดในการเตรียมรับมือกับปัญหาในอนาคต ก็คือ การลงมือจัดสร้างกระดูกสันหลังที่เหมาะสมให้กับระบบการศึกษา ประสบการณ์ในอดีตหลายครั้งหลายคราเหลือเกิน ทั้งในซีกโลกตะวันออกและตะวันตก ต่างก็ชี้ให้เห็นความเป็นจริงข้อที่ว่าประเทศชาติย่อมจะไปไม่รอดหากไม่มีการวางรากฐานที่สำ คัญอันเข็งแกร่งทางการศึกษาให้เหมาะควรเป็นลำดับแรกเสียก่อน ในหนังสือ The  Republic บ่งชี้ว่าทฤษฎีพื้นฐานของเพลโตอยู่ที่ว่าการศึกษาเป็นปัจจัยจัดวางรากฐานซึ่งเป็นภารกิจทั้งหลายทั้งปวงของรัฐ เทคโนโลยีสารสนเทศกับการขยายโอกาสทางการศึกษา  ประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษยชาติแสดงให้เห็นกระบวน การพัฒนาและสั่งสมข้อมูลความรู้ในลักษณะทั้งลึกและกว้างซึ่งตามติดมาด้วยกระบวนการทางการศึกษาที่มีขอบเขตกว้างไกลและลํ้าลึกไม่แพ้กัน ในอดีตการศึกษาเป็นอภิสิทธิ์ของชนชั้นนำ เพียงจำนวนหยิบมือเท่านั้น แต่เมื่อมาถึงยุคปัจจุบันโอกาสทางการศึกษาก็แผ่ไปถึงมวลชน ปรัชญาการศึกษาที่เป็นสากลในอันที่
จะเปิดโอกาสการศึกษาพื้นฐานให้ปวงชนทุกคนโดยเท่าเทียมกันได้หยั่งราก
ลึกลงในสังคม ซึ่งส่งผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อวิถีการดำเนินชีวิตในทุก ๆ  มิติของมนุษย์

                ความจำเป็นเร่งด่วนในการนำ เทคโนโลยีทางการศึกษาที่นำสมัยมาใช้ ประวัติศาสตร์อีกเช่นกันที่สะท้อนให้เห็นว่า อารยธรรมทั้งหลายที่นำเทคโนโลยีในการพิมพ์มาใช้ในการศึกษาล้วนแล้วแต่เป็นอารยธรรมที่มีบทบาทโดดเด่นในการสรรค์สร้างประวัติศาสตร์โลกด้วยกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามบางอารยธรรมที่ถึงแม้จะเป็นผู้นำ ในด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในยุคกลาง ทว่ากลับมิได้นำผลมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาให้มากเท่าที่ควรจะเป็น   ก็ไม่สามารถแข่งขันเคียงบ่าเคียงไหล่กับประเทศที่นำมาประยุกต์ ใช้ได้ตลอดไป  เทคโนโลยีสารสนเทศคือฐานรากของยุคสมัยข้อมูลข่าวสาร ดังนั้นวิธีที่มั่นคงที่สุดในการนำ พาชาติให้อยู่ในแถวหน้าของกาลสมัยข้อมูลข่าวสารก็ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการศึกษา การกระทำดังกล่าวอาจจะก่อให้เกิดการปฏิวัติทางการศึกษาในหลาย ๆ ลักษณะขึ้นได้  ซึ่งรวมไปถึงปฏิวัติวิธีการสอนด้วย และใครก็ตามที่สามารถผสมผสานเทคโนโลยีเข้ากับการศึกษาได้สำเร็จก็จะเป็นประเทศผู้นำ ในการสรรค์สร้างอนาคตของอารยธรรมมนุษย์  สังคมสารสนเทศกับนัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
การก้าวย่างเข้ามาของสังคมสารสนเทศมีนัยสำคัญดังต่อไปนี้ คือ
        1) กระแสอันเชี่ยวกรากของข้อมูลสารสนเทศก่อให้เกิดความจำเป็นในการขยายระยะเวลาในการให้การศึกษาพื้นฐาน
        2) แผนการฝึกอบรมด้านอาชีวศึกษาเพื่อให้เยาวชนได้ฝึกฝนทักษะที่จำเป็นในการหาเลี้ยงชีพ จำต้องได้รับการปรับปรุงร่างในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา
       3) แผนการเรียนสำ หรับผู้ใหญ่ที่ต้องการศึกษาต่อควรจะเข้ามาเป็นส่วนกระแสหลักในยุคสมัยของสังคมสารสนเทศ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและ
การเผยแพร่ข้อมูลความรู้อย่างฉับไว ฉะนั้น การศึกษาต่อเนื่องและการศึกษาตลอดชีวิตจึงนับเป็นองค์ประกอบสำคัญของสังคมสารสนเทศ

       4) การนำ เทคโนโลยีสารสนเทศในลักษณะสื่อประสมหลากหลายมิติมาใช้ในการศึกษาจะก่อให้เกิดการปฏิวัติในเชิงปฏิบัติวในการจัดระบบการศึกษา เนื้อหาและวิธีการสอนการศึกษาพื้นฐานกับการศึกษาตลอดชีวิต ผลพวงที่จะเกิดตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการกระตุ้นให้มนุษย์ตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเองและการคิดค้นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็คือ การขยายการศึกษาพื้นฐานและการศึกษาตลอดชีวิตให้แก่ปวงชน นี่คือแนวโน้มใหม่ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว และนับเป็น จุดประสงค์ของยุคสมัย
ใหม่โดยแท้   เทคโนโลยีใหม่กับการศึกษาที่เปิดกว้าง แม้กระทั่งผู้ที่ได้ชื่อว่าได้รับการศึกษาในขั้นสูงสุดแล้วก็ตาม หากไม่มีโอกาสได้เข้ารับความรู้และทักษะใหม่ๆ ก็จะต้องประสบกับปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  จนทำให้ความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ล้าสมัยอย่างรวดเร็วเช่นกัน ด้วยเหตุนี้แผนการฝึกอบรมใหม่สำหรับผู้ใหญ่จึงเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ สิ่งสำคัญที่รัฐพึงกระทำ คือ การเปิดประตูทางการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ ให้กว้างกว่าเดิม  เพื่อส่งเสริมให้เขาเหล่านั้นสามารถเข้ารับการศึกษาฝึกอบรมได้ในทุกโอกาสและทุกสถานที่ ในการที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ได้นั้นรัฐจะต้องวางมาตรการที่เหมาะสมเพื่อนำ เทคโนโลยีสารเทศที่
นำสมัยที่สุดมาใช้ในการศึกษา ซึ่งจะช่วยสร้างมิติใหม่ในกระบวนการเรียนการสอน
                 ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศได้ลงมือสร้างมิติใหม่เกี่ยวกับระบบการศึกษาเปิดกันแล้วโดยการนำเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น  ดาวเทียมมาใช้ในการศึกษาทางไกล ไม่ว่าจะเป็นระบบการศึกษาที่เปิดกว้าง  
เช่น ที่ the Open Learning Agency (OLA) ในแคนาดา หรือ the Open Training  and Education Network (OTEN) ในออสเตรเลีย หรือthe National  Technological University (NTU) ในสหรัฐอเมริกาก็ตาม ต่างก็ประสบความสำเร็จในการพัฒนาแผนการเรียนการสอนที่ก้าวไกลที่สุดในด้านการศึกษาทางไกลและการศึกษาที่เปิดกว้าง  การเปลี่ยนแปลงความคิดรวบยอดทางการศึกษาในแนวอนุรักษ์นิยม ความเจริญก้าวหน้าอันน่าอัศจรรย์ใจในด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศย่อมต้องเข้ามาปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ดั้งเดิมว่าด้วยเรื่องการจัดห้องเรียน วิธีการเรียนการสอน หลักสูตร ตลอดจนการบริหารโรงเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศที่อาศัยสื่อหลากหลายมิติอันทันสมัยจะช่วยให้เราสามารถก้าวพ้นข้อจำกัดในเรื่องสถานที่และเวลาซึ่งจะช่วยสร้างแนวทางใหม่ๆ ที่เป็นไปได้ทางการศึกษา ตัวอย่างเช่น ในอนาคต ผู้เรียนอาจจะสามารถเลือกรับฟังคำบรรยายของอาจารย์ในเวลาที่ตนเองเป็นผู้กำหนดและเรียนรู้ในอัตราช้า/เร็วที่เหมาะสมกับตนเอง ไม่เร็วหรือช้าเกินไป ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อต้องเรียนร่วมกับผู้อื่นในห้องเรียนขนาดใหญ่ นอกจากนี้ความก้าวหน้าอันสุด

ประมาณทางเทคโนโลยียังจะช่วยให้สามารถจัดแผนการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่ผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียนในซอกหลืบของสังคมที่ไม่เคยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพมาก่อนได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย ในจุดนี้จะช่วยให้การให้โอกาสทางการศึกษาโดยเท่าเทียมเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ในที่สุด

             โลกาภิวัตน์กับการศึกษา การพัฒนาอันน่าระทึกใจในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคมนาคม ผนวกกับการล่มสลายของอุดมการณ์ ซึ่งเคยเป็นปัจจัยแบ่งแยกโลกออกเป็นหลายค่าย ได้ส่งผลให้โลกใบนี้ของเรา  กลายมาเป็น “ชุมชน” ที่แวดล้อมด้วยเพื่อนบ้านมากหน้าหลายตา ในตอนแรกทีเดียวนั้นพรมแดนทางเศรษฐกิจเกือบจะสูญสลายไปจนหมด โดยมีการจัดตั้งกลุ่มประเทศทางเศรษฐกิจขึ้นตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น สหภาพยุโรป หรือ EU และกลุ่มประเทศผู้ค้าในภูมิภาคอเมริกาเหนือ (NAFTA) รวมทั้งระบบเศรษฐกิจที่ไร้พรหมแดน นั่นคือ องค์การการค้าโลก หรือ WTO ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี 1995 กล่าวได้ว่าเรากำลังอยู่ในยุคสมัยที่เขตแดนของประเทศไม่สามารถที่จะช่วยปกป้องความคิด สถาบัน และระบบต่าง ๆของเราได้อีกต่อไป  ยุคสมัยใหม่กับนัยต่าง ๆ ที่สำคัญเกี่ยวกับการศึกษายุคสมัยใหม่แห่งกระแสโลกาภิวัตน์ก่อให้เกิดนัยสำคัญว่าด้วยทิศทางในอนาคตของระบบการศึกษาของเรา ดังนี้ คือ

          1) การที่จะรับมือกับปัญหาต่าง ๆ อันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ได้นั้นเราจึงต้องยกระดับคุณภาพการศึกษาของเราให้เท่าเทียมกับมาตรฐานโลก
         2) การที่จะสามารถธำรงรักษามรดกทางวัฒนธรรมของเราไว้ได้ควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในกระแสโลกาภิวัตน์ได้นั้นเรา จำเป็นต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการส่งเสริมและสรรค์สร้างความเข้าใจอันดีต่อมรดกทางวัฒนธรรมของเราเองให้เกิดขึ้น
         3) การที่จะเป็นพลเมืองสากลอย่างแท้จริงได้นั้น เราจะต้องไม่เพียงแต่เปิดใจให้กว้างและปลูกฝังมิติวัฒนธรรมอันหลากหลายให้เกิดขึ้นในตนเท่านั้น แต่ยังต้องพัฒนาทักษะในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมอีกด้วย
        4) เราจะต้องนำหลักการดำเนินงานอย่างอิสระ และการกระจายอำนาจมาใช้ในการศึกษาด้วย
มาตรฐานสากลทางการศึกษา ประเด็นสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของเกาหลีให้ทัดเทียมมาตรฐานสากลได้นั้นก็คือต้องปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับการเรียนแบบท่องจำ ข้อ
มูลความรู้ในลักษณะปลีกย่อยให้ หันเหไปสู่ระบบที่ปลูกฝังบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในบริบทดังกล่าว   สถานศึกษาขั้นสูงจะต้องฟื้นฟูบทบาทของตนเอง มิใช่เพียงแค่คนกลางส่งผ่านความรู้  หากแต่ยังต้องพากเพียรสร้างบทบาทในการเป็นแหล่งกำเนิดของทฤษฎีและการค้นพบใหม่ ๆ ด้วยความเป็นสากลกับเอกลักษณ์ กระแสโลกาภิวัตน์ที่พัดผ่านเข้ามาไม่ได้ หมายความว่า เราควรจะทิ้งค่านิยมดั้งเดิมของเราเพื่อหันมายอมรับค่านิยมภายนอกโดยไร้ซึ่งวิจารณญาณ สิ่งที่ควรกระทำ คือ พยายามธำรงรักษาวัฒน

ธรรมของเราเอาไว้ให้ดี ในขณะเดียวกันก็เปิดใจรับวัฒนธรรมอื่น ๆ ด้วยกระแสโลกาภิวัตน์ที่เหมาะสมย่อมจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการปลูกฝังความเป็นสากลภายในขอบเขตของความเป็นปัจเจกชน ซึ่งมีลักษณะจำ เพาะแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นการศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษาต่อเนื่องหรือการศึกษาในโรงเรียน ก็ตามเราจำต้องให้ความสำคัญต่อการเรียนการสอนมรดกวัฒนธรรมด้วยกันทั้งสิ้น
                    การศึกษาที่สอดคล้องกับโลกาภิวัตน์ ปัจเจกชนจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ฝึกฝนทักษะและบ่มเพาะความเข้าใจในสาระบางเรื่องเป็นพิเศษในการที่จะดำรงตนเป็นพลเมืองที่ดีของโลกได้ การศึกษาในเรื่องสันติภาพก็เป็นสาระสำคัญเร่งด่วนประการหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้เยาวชนของเราสามารถเรียนรู้ที่จะดำเนินชีวิตร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ได้อย่างสงบสุข ฉะนั้นการดำรงตนในยุคสมัยโลกาภิวัตน์อย่างเหมาะสมก็ย่อมหมายถึงว่าอย่างน้อยทุกคนก็ควรมีทักษะในการสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษา การศึกษาเพื่อสรรค์สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างชาติจึงมีภารกิจยิ่งใหญ่ในอันที่จะเปิดโลกทัศน์ปัจเจกชนให้กว้างไกลยิ่งขึ้น  อิสรภาพในการดำ เนินการของชุมชนกับการศึกษา คำกล่าวที่ว่า “จงนึกคิดแบบโลกาภิวัตน์ แต่จงปฏิบัติแบบชุมชน” หรือ “ Think  globally, act locally” ซึ่งเราได้ยินจนคุ้นหู นั้น  ดูเหมือนจะเสนอแนะว่า “ชมุชน
ภิวัตน์” (localization) ควรจะดำ เนินไปพร้อม ๆ กับโลกาภิวัตน์  มติของโลกาภิ
วัตน์ในบริบทการศึกษาจะเน้นที่การหันเหการควบคุมและการใช้อำนาจจากหน่วยงานส่วนกลางมาเป็นการกระจายอำนาจเพื่อให้อิสระแก่หน่วยงานในท้องถิ่น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนจากการใช้มาตรฐานเดียวกันหมดมาเป็นการเน้นความหลากหลายด้วยลักษณะพึงประสงค์อีกประการหนึ่งก็คือ ฝ่ายบริหารส่วนท้องถิ่นที่สามารถดำเนินงานอย่างอิสระควรจะเข้ามารับผิดชอบในเรื่องการเงินสำหรับการศึกษาทั้งในระดับประถมและมัธยม   อีกทั้งควรส่งเสริม

ให้ชุมชนดูแลงานเองเพื่อกระตุ้นให้การศึกษาในชุมชนนั้น ๆ สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นนั้นจริง ๆ  นอกจากนี้ ก็ควรจะเพิ่มขอบเขตของการควบคุมดูแลตนเองของแต่ละโรงเรียนในชุมชนด้วย

การศึกษาคือพลังขับเคลื่อนหลักอันก่อให้เกิดการพัฒนา

            ประเทศชาติ ความเจริญรุดหน้าทางด้านการศึกษาในเชิงปริมาณของเกาหลีเป็นไปอย่างน่าทึ่งจนยากที่หาประเทศอื่นใดในโลกมาเปรียบเทียบได้ พลเมืองเกาหลีทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับประถมและมัธยมศึกษา ส่วนอุดมศึกษาก็กำลังจะก้าวเข้ามาถึงจุดนี้เช่นกัน เมื่อมองในแง่การขยายตัวเชิงปริมาณนับได้ว่าการศึกษาของเกาหลีติดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด ที่เป็นเช่นนี้สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความกระตือรือร้นอย่างสุดขีดในด้านการศึกษาของประชากรชาวเกาหลีเอง เกาหลีเป็นชาติที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ฉะนั้นจึงนับได้ว่าแรงงานที่ได้รับการศึกษาดี ซึ่งมีอยู่อย่างเหลือเฟือคือ ปัจจัยผลักดันให้ประเทศชาติเจริญรุดหน้าก้าวไกล นอกจากนี้การส่งเสริมให้ประชากรทั้งประเทศได้รับการศึกษาก็นับได้ว่ามีส่วนอย่างมากในการสร้างเสริมให้สังคมเกาหลีปรับแปลงไปสู่วิถีทางแห่งระบอบประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้น ข้อเท็จจริงที่ว่าการศึกษาคือปัจจัยหลักที่ผลักดันให้เกาหลีเจริญก้าวหน้านั้นเป็นที่รับรู้กันไปทั่วโลก และประเทศที่กำลังพัฒนาหลายต่อหลายประเทศก็ยึดถือเกาหลีเป็นแบบอย่างทางด้านการจัดการศึกษา

วิสัยทัศน์ : การศึกษาในอุดมคติ

                 วิสัยทัศน์ในระบบการศึกษาใหม่อยู่ที่การสรรค์สร้าง “การศึกษาในอุดมคติ” ซึ่งหมายถึงสวัสดิการทางการศึกษาของรัฐที่พึงจัดให้บริการทางการศึกษาแก่ปัจเจกชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยสามารถเข้ารับการศึกษาได้อย่างง่ายดายในระบบการศึกษาที่เปิดกว้างตลอดชีวิต ทั้งนี้ผู้เรียนสามารถกำหนดเวลาและสถานที่ที่สะดวกที่จะเรียนได้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะของ “การศึกษาในอุดมคติ”
                  • เวลา : จัดให้บริการทางการศึกษาในทุกช่วงเวลาของชีวิตโดยปัจเจกชนจะเป็นผู้เลือกเวลาที่เหมาะสมด้วยตนเอง
                  • สถานที่ : นำเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลที่นำสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาให้กับประชากรทุกคนในทุกเวลา และทุกสถานที่
                 • สถานศึกษา : การจัดตั้งธนาคารสะสมหน่วยกิตจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถค่อย ๆ เก็บเล็กผสมน้อยหน่วยกิตไปได้ตลอดช่วงเวลาการศึกษาของตน และช่วยเอื้อต่อการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างสถานศึกษาในทุกระดับ
                • มหาวิทยาลัย : การลดจำนวนหน่วยกิตตํ่าสุดสำหรับแผนการเรียนในแต่ละสาขาจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าเรียนในลักษณะควบสองสาขาหรือสามสาขาได้ในเวลาเดียวกัน

• โรงเรียนมัธยมศึกษา : เปิดโอกาสให้นักเรียนจากสายอาชีว

                 ศึกษาย้ายโอนไปเรียนในโรงเรียนสายสามัญได้สะดวกมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการย้ายโอนในทิศทางกลับกันด้วย นอกจากนี้การจัดทำ หลักสูตรให้มีทั้งความหลากหลายและมีการลงลึกในแต่ละสาขาวิชาชีพจะช่วยให้นักเรียนมีแผนการเรียนสำหรับเลือกมากขึ้นด้วย
           • การศึกษาในระบบเปิด : ระบบใหม่  จะสามารถให้บริการทางการศึกษาได้สะดวกขึ้นสำหรับผู้เรียนที่มีความพิการทางกายและผู้ที่อาศัยอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ปรัชญาพื้นฐานของระบบใหม่ก็คือ “การศึกษาที่ลงทุนตํ่าแต่คุณภาพสูงสำหรับปวงชน

 

           คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนภายใต้ระบบการศึกษาใหม่

มีมนุษยสัมพันธ์ดี เป็นคนที่ให้ความร่วมมือกับผู้อื่นเป็นปกติวิสัย

มีนํ้าใจ มีคุณธรรมสูง มีความรับผิดชอบต่อชุมชน มีแนวทางปฏิบัติตนอยู่บนความเชื่อมั่นว่ามนุษย์จะสามารถค้นพบความหมายของชีวิตได้ก็ด้วยการรักษาสัมพันธ์ภาพอันดีระหว่างมนุษย์ด้วยกัน และระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นวิญญูชนที่มีความคิดสร้างสรรค์ผู้สามารถติดตามและกระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในด้านเทคโนโลยีข่าวสารและ ความรู้ โดยมุ่งมั่นที่จะนำความรู้นั้นมาช่วยยกระดับ คุณภาพชีวิต ในขณะเดียวกันก็มุ่งรักษาสัมพันธภาพอันดีระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมไว้ด้วย
มีใจที่เปิดกว้าง เป็นผู้มีโลกทัศน์กว้างไกลซึ่งตระหนักดีว่าวิถีชีวิตของแต่ละคนมิได้มีขอบเขตจำกัดอยู่แต่ในบ้านเรือนและประเทศชาติของตนเท่านั้น แต่ยังต้องคบหาสมาคมกับโลกกว้างด้วยโดยที่สามารถดำเนิน
ชีวิตร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ได้อย่างสงบสุข

นอกจากบุคคลดังกล่าวจะได้ชื่อว่าเป็นพลเมืองของโลกอย่างแท้จริงแล้วก็ยังได้ชื่อว่าเป็นพลเมืองเกาหลีผู้มีเกียรติภูมิ สามารถเปิดประตูประเทศชาติออกไปสู่ยุคสมัยโลกาภิวัตน์ ความเป็นสากล และลัทธิเสรีนิยมได้อย่างเต็มภาคภูมิ

มีความใฝ่ใจในการงา มิใช่เป็นเพียงผู้ทุ่มเทให้กับหน้าที่การงานเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นผู้มีอิสระและมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานควบคู่ไปกับการมีจรรยาบรรณอีกด้วย นอกจากนี้ยังจะต้องมองว่างานการทุกประเภทล้วนมีคุณค่าน่ายกย่องเหมือนกันหมด โดยไม่แบ่งแยกงานที่ต้องใช้แรงกายว่าตํ่าต้อย
 

ทิศทางของระบบการศึกษาใหม่
            ศูนย์กลางอยู่ที่ตัวผู้เรียน ระบบการศึกษาใหม่จะให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก แทนที่จะเป็นความต้องการของครูและผู้บริหารดังเช่นที่เป็นอยู่ในระบบปัจจุบัน การแข่งขันระหว่างสถาน
ศึกษาทั้งหลายจะทำให้นักเรียนและผู้ปกครองมีโอกาสเลือกแผนการเรียนได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
การศึกษาที่หลากหลาย การจัดตั้งโรงเรียนที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน  และการนำเสนอแผนการเรียนที่หลากหลาย ซึ่งแตกต่างไปจากระบบปัจจุบันที่เน้นแผนการเรียนในลักษณะเหมือนกันหมด จะเป็นการช่วยบ่มเพาะ
ความคิดสร้างสรรค์และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้แก่นักเรียนการดำเนินงานโดยอิสระของโรงเรียน โรงเรียนมีอิสระในการบริหารงานในโรงเรียนมากขึ้น โดยมีผู้ปกครองและผู้ทรงภูมิปัญญาในชุมชนเป็นอาสาสมัครเข้ามาช่วยงาน

เสรีภาพกับความเสมอภาค

           หลักการจัดการดูแลการให้บริการทางด้านการศึกษาอยู่ที่การเปิดโอกาสให้มากที่สุดเพื่อให้ปัจเจกชนทุกคนพัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างเต็มขีดความสามารถ ขณะเดียวกันก็ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ด้อยโอกาสให้สามารถเข้ารับการศึกษาที่มีคุณภาพได้ เสรีภาพและความเสมอภาคเท่านั้นที่เป็นเครื่องรับประกันความเป็นเลิศทางการศึกษา

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการศึกษา

          ควรจะได้มีการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อหลายมิติมาใช้เพื่อเปิดระบบการศึกษาใหกว้างไกลเหมาะสำ หรับศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะช่วยเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ารับการศึกษาได้ทุกเวลาในทุกสถานที่
ความเป็นเลิศทางการศึกษา เป้าหมายระยะยาวของระบบการศึกษาใหม่คือ การยกคุณภาพการศึกษาให้สูงถึงระดับความเป็นเลิศของมาตรฐานโลก เป้าหมายอันสูงส่งเช่นนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ มากมาย อาทิ วัตถุ
ประสงค์และโครงการที่มีคุณประโยชน์ กลุ่มนักเรียนเป้าหมาย ครูอาจารย์ โรงเรียน การให้ความช่วยเหลือด้านงบประมาณในเวลาที่เหมาะสมตลอดจนการบริหารในลักษณะให้การสนับสนุน

ระบบการศึกษาเปิด

             ระบบการศึกษาเปิด คือ ระบบการศึกษาที่เปิดกว้างสำหรับคนทุกคน โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาและสถานที่ โดยมีวัตถุประสงค์สูงสุดอยู่ที่การจัดสร้าง “การศึกษาในอุดมคติ” (สวัสดิการทางการศึกษาของรัฐ) เพื่อเป็นหลักประกันให้พลเมืองทุกคนสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ
             
ระบบใหม่นี้จะให้ความสำ คัญต่อเรื่องดังต่อไปนี้ :-
              ระบบการศึกษาใหม่จะเอื้ออำนวยให้มีการย้ายโอนอย่างง่ายดาย  ระหว่างนักเรียนนักศึกษาต่างสถานศึกษา รวมทั้งการย้ายโอนระหว่างแผนการเรียนหรือการศึกษาเฉพาะทางภายในสถานศึกษาเดิม ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้ารับการศึกษา ตามแผนการเรียนที่เหมาะสมและสอดคล้องที่สุดกับความสามารถและความถนัด   
นอกจากนี้ระบบใหม่ยังสนับสนุนให้จัดสร้างระบบสะสมหน่วยกิตของผู้เรียนในช่วงที่ได้รับการศึกษาไปเรื่อยๆ นอกเหนือจากสถานศึกษาหลัก เช่น  โรงเรียน  บ้าน  และที่ทำงาน  ก็สามารถเป็นแหล่งให้การศึกษาได้ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการศึกษาเพื่อมุ่งจัดการศึกษาให้ทั่วถึงปวงชนในทุกแห่งหน

             โรงเรียนจะมีอิสระในการแสวงหาความเป็นเลิศโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการจัดการด้วยตนเองและการแข่งขัน  เป้าหมายของความเสมอภาคว่าด้วยโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพนั้นจะบรรลุได้โดยการใช้มาตรการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกีบสถานที่ทุรกันดาร  และกลุ่มประชากรที่ด้อยโอกาส ทั้งนี้จะมีการติดตามและรักษาคุณภาพทางการศึกษาโดยกระบวนการประเมินผลอย่างเป็นระบบ  นักเรียนและผู้ปกครองมีอิสระในการเลือกแผนการเรียนที่สอดคล้องที่สุดกับความสนใจและความถนัดของนักเรียน โดยพิจารณาจากข้อมูลที่ได้รับ  ครูอาจารย์ในสถานะจักรกลของการปฏิรูปการศึกษา จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในนวัตกรรมทั้งหลายในระดับรากหญ้า ในขณะเดียวกันก็ช่วยเปิดทางสู่อนาคตให้แก่อนุชนรุ่นต่อไป

รัฐพึงประเมินสถานศึกษาทั้งหลายทั้งปวง นอกจากนี้ก็ยังต้องให้การสนับสนุนที่จำเป็นแก่สถานศึกษาเหล่านั้น  โดยอิงผลการประเมิน และต้องจัดสร้างโครงสร้างสำหรับการกระจายข้อมูลทางการศึกษา ตลอดจนต้อง
ประกันการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพโดยเสมอภาคในกลุ่มคนทุกระดับในสังคมอีกด้วย                              

                                             ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

bottom of page