top of page

การเรียนรู้ที่แท้จริง
อยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง
การเรียนวิชาในห้องเรียน
ยังเป็นการเรียนแบบสมมติ
“ดังนั้นครูเพื่อศิษย์จึงต้องออกแบบ
การเรียนรู้ให้ศิษย์” ได้เรียนในสภาพที่

       ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด            

          ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนเป้าหมายการเรียนรู้ของศิษย์จากเน้นเรียนวิชาเพื่อได้ความรู้   ให้เลยไปสู่การพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อชีวิตในยุคใหม่    ย้ำว่า   การเรียนรู้ยุคใหม่      ต้องเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑   หน้าที่ของครูเพื่อศิษย์จึงต้องเปลี่ยนจากเน้น “สอน”  หรือสั่งสอน    ไปทำหน้าที่จุดประกายความสนใจใฝ่รู้ (inspire) แก่ศิษย์ ให้ศิษย์ได้เรียนจากการลงมือปฏิบัติ (learning  by  doing)   และศิษย์งอกงามทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ นี้       จากการลงมือปฏิบัติของตนเป็นทีมร่วมกับเพื่อนนักเรียน    เน้นการงอกงามทักษะในการเรียนรู้ และค้นคว้าหาความรู้มากกว่าตัวความรู้ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแนวทางการทำงานจากทำโดดเดี่ยว คนเดียว เป็นทำงานและเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูเป็นทีม

 

ศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

คำถามสำคัญที่กำลังอยู่ในใจครูทุกคนคือ เรา

กำลังจะพบกับศิษย์  แบบไหนในอนาคต ศิษย์

ของเราในวันนี้เป็นอย่างไร ศิษย์ที่เป็นเด็กสมัย

ใหม่ หรือเป็นคนของศตวรรษที่ ๒๑ จะมีลักษณะ

อย่างไรนั้น ครูในศตวรรษที่  ๒๑ เองก็จำเป็น

อย่างยิ่งที่ต้องรู้จักศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ นี้ด้วย  

หนังสือ 21st Century Skills : Learning for Life in

Our Times ระบุลักษณะ ๘ ประการของเด็กสมัยใหม่

ไว้ดังนี้

• มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนพอใจ แสดงความเห็น และลักษณะเฉพาะของตน
• ต้องการดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้ตรงตามความพอใจและความต้องการของตน (customization & personalization)
• ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง (scrutiny)
• เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อรวมตัวกันเป็นองค์กร เช่น ธุรกิจ รัฐบาล และสถาบันการศึกษา
• ความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงาน การเรียนรู้และชีวิตทางสังคม

การร่วมมือ และความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม

• ต้องการความเร็วในการสื่อสาร การหาข้อมูล และตอบคำถาม
• สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต เราไม่จำเป็นต้องเชื่อหนังสือฝรั่ง เราอาจช่วยกันหาข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรมว่าเด็กไทยสมัยใหม่เป็นอย่างไร นี่คือโจทย์หนึ่งสำหรับให้ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (ชร. คศ.) ช่วยกันรวบรวม
นอกจากนั้น ยังมีผู้ให้ความเห็นไว้ว่าเด็กยุคใหม่เป็นคนยุคเจนเนอเรชัน(Generation Z) เป็นพวกที่ชอบใช้อินเทอร์เนต หรือที่เรียกกันว่าเป็นชาวเน็ต(netizen) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะนิสัยเพื่อประโยชน์ทางการตลาด
ครูเพื่อศิษย์อาจช่วยกันศึกษารวบรวมลักษณะของเด็กไทยยุคใหม่ เอาไว้ใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ ลักษณะอย่างหนึ่งของศิษย์ไทยคือ เกือบครึ่งหนึ่งเป็นคนที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ เพราะพ่อแม่ต้องออกไปทำงานนอกหมู่บ้านเป็นเวลานาน ๆ ทิ้งลูกไว้กับปู่ย่า หรือตายาย เด็กบางคนไม่มีพ่อแม่เพราะพ่อแม่ตายไปแล้ว หรือพ่อแม่หย่าร้าง ต้องอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือบางคนเป็นลูกติดแม่โดยที่แม่แต่งงานใหม่และมีลูกกับสามีใหม่ เป็นความท้าทายต่อครูเพื่อศิษย์ที่จะช่วยให้ความอบอุ่น ความรัก
แก่เด็กที่ขาดแคลนเหล่านี้



หลักการหรือปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้ใน

ศตวรรษที่ ๒๑ ไว้ ๕ ประการคือ
• Authentic learning
• Mental model building
• Internal motivation
• Multiple intelligence
• Social learning

Authentic learning

         การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง การเรียนวิชาในห้องเรียน ยังไม่ใช่การเรียนรู้ที่แท้จริง ยังเป็นการเรียนแบบสมมติ ดังนั้น ครูเพื่อศิษย์จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์ได้เรียนในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด กล่าวในเชิงทฤษฎีได้ว่า การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับบริบทหรือสภาพแวดล้อม ในขณะเรียนรู้ ห้องเรียนไม่ใช่บริบทที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ในมิติที่ลึก  เพราะห้องเรียนไม่เหมือนสภาพในชีวิตจริง การสมมติโจทย์ที่คล้ายจะเกิดในชีวิตจริงก็ได้ความสมจริงเพียงบางส่วน แต่หากไปเรียนในสภาพจริงก็จะได้การเรียนรู้ในมิติที่ลึกและกว้างขวางกว่าสภาพสมมติ  การออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์เกิด “การเรียนรู้ที่แท้” (authentic  learning) เป็นความท้าทายต่อครูเพื่อศิษย์ ในสภาพที่มีข้อจำกัดด้านเวลา

และทรัพยากรอื่น ๆ รวมทั้งจากความเป็นจริงว่า เด็กนักเรียนในเมืองกับในชนบทมีสภาพแวดล้อมและชีวิตจริงที่แตกต่างกันมาก
Mental Model Building
การเรียนรู้ในระดับสร้างกระบวนทัศน์อาจมองอีกมุมหนึ่งว่า เป็น  authentic learning แนวหนึ่ง ผมมองว่านี่คือ การอบรมบ่มนิสัย หรือการปลูกฝังความเชื่อหรือค่านิยมในถ้อยคำเดิมของเรา แต่ในความหมาย
ข้อนี้เป็นการเรียนรู้วิธีการนำเอาประสบการณ์มาสั่งสมจนเกิดเป็นกระบวนทัศน์ (หรือความเชื่อ ค่านิยม) และที่สำคัญกว่านั้นคือ สั่งสมประสบการณ์ใหม่ เอามาโต้แย้งความเชื่อหรือค่านิยมเดิม ทำให้ละจากความเชื่อเดิม  หันมายึดถือความเชื่อหรือกระบวนทัศน์ใหม่  
นั่นคือ เป็นการเรียนรู้ (how to learn, how to unlearn/ delearn,  how to relean) ไปพร้อม ๆ กัน ทำให้เป็นคนที่มีความคิดเชิงกระบวนทัศน์ชัดเจน และเกิดการเรียนรู้เชิงกระบวนทัศน์ใหม่ได้ แต่การจะมีทักษะหรือความสามารถขนาดนี้ จำต้องมีความสามารถรับรู้ข้อมูลหลักฐานใหม่ ๆ และนำมาสังเคราะห์เป็นความรู้เชิงกระบวนทัศน์ใหม่ได้

Internal Motivation
การเรียนรู้ที่แท้จริงขับดันด้วยฉันทะ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ภายในตัวคน ไม่ใช่ขับดันด้วยอำนาจของครูหรือพ่อแม่ เด็กที่เรียนเพราะไม่อยากขัดใจครูหรือพ่อแม่จะเรียนได้ไม่ดีเท่าเด็กที่เรียนเพราะอยากเรียน
เมื่อเด็กมีฉันทะและได้รับการส่งเสริมที่ถูกต้องจากครู วิริยะ จิตตะ และวิมังสา (อิทธิบาทสี่) ก็จะตามมา ทำให้เกิดการเรียนรู้ในมิติที่ลึกซึ้งและเชื่อมโยง
Multiple Intelligence
เวลานี้เป็นที่เชื่อกันทั่วไปแล้วว่า มนุษย์เรามีพหุปัญญา (Multiple  Intelligence) และเด็กแต่ละคนมีความถนัดหรือปัญญาที่ติดตัวมาแต่กำเนิดต่างกัน รวมทั้งสไตล์การเรียนรู้ก็ต่างกัน ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายต่อครูเพื่อศิษย์ในการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคน และจัดให้การเรียนรู้ส่วนหนึ่งเป็นการเรียนรู้เฉพาะตัว  (personalized learning) เรื่องนี้มีการวิจัยและการออกแบบการเรียนรู้ได้
มากมาย ดังตัวอย่าง Universal Design for Learning ซึ่งก็คือ เครื่องมือสร้างความยืดหยุ่นหลากหลายในการออกแบบการเรียนรู้นั่นเอง

(ดูเพิ่มเติมที่ http://www.cast.org/udl/index.html และ http://www.washington.
edu/doit/CUDE/)

Social Learning

การเรียนรู้เป็นกิจกรรมทางสังคม หากยึดหลักการนี้ ครูเพื่อศิษย์ก็จะสามารถออกแบบกระบวนการทางสังคมเพื่อให้ศิษย์เรียนสนุก และเกิดนิสัยรักการเรียน เพราะการเรียนจะไม่ใช่กิจกรรมส่วนบุคคลที่หงอยเหงาน่าเบื่อ  ขออนุญาตย้ำนะครับว่า อย่าติดทฤษฎีหรือเชื่อตามหนังสือจนเกินไปจนไม่กล้าทดลองวิธีคิดใหม่ ๆ ที่อาจจะเหมาะสมต่อศิษย์ของเรามากกว่าแนวคิดแบบฝรั่ง เราอาจคิดหลักการเรียนรู้ตามแบบของเราที่เหมาะสมต่อบริบทสังคมไทยขึ้นมาใช้เองก็ได้
 

ท่านที่สนใจ โปรดดูวิดีโอเล่าผลการวิจัยจากชีวิตจริงที่ http://blog.ted.com/2010/09/07/the-child-driven-education-sugatamitra-on-ted-com ซึ่งจะเห็นว่า เด็ก ๆ มีความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนเป็นทุน และเด็ก ๆ มีความสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองหากสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวย แต่ผมก็ยังเชื่อว่าครูที่ดีจะช่วยเพิ่มพลังและคุณค่าของการเรียนรู้ได้อีกมาก ในขณะเดียวกัน การศึกษาตามแนวทางปัจจุบันก็ทำลาย
ความริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็ก ดังในวิดีโอ http://www.youtube.com/watch?v=iG9CE55wbtY

 

๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/424022
http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/425392
http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/428313



                                                                    ขอขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์



bottom of page